Screening

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Sed molestie scelerisque ultrices. Nullam venenatis, felis ut accumsan vestibulum, diam leo congue nisl, eget luctus sapien libero eget urna. Duis ac pellentesque nisi.

 

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด

 

cover main

            ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาการของสมอง การทำงานของต่อมไทรอยด์อยู่ภายใต้การควบคุมจากไฮโปทาลามัส ต่อมใต้สมองและต่อมไทรอยด์ (Hypothalamic–pituitary–thyroid (HPT) axis) ฮอร์โมนไทรอยด์มีสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ มียีนและเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด (Congenital hypothyroidism, CHT) จำแนกเป็นชนิดปฐมภูมิ (Primary CHT) ที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ และชนิดทุติยภูมิ (Secondary CHT) ที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง พบได้ทั้งที่เป็นแบบถาวร (Permanent) และชั่วคราว (Transient)

            ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของทารก ส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการของร่างกายและสมองบกพร่อง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงออกของโรคในช่วงก่อนอายุ 3 เดือน สามารถป้องกันและรักษาได้หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาภายในอายุ 14 วันหลังคลอด การตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในทารกแรกเกิดจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการวินิจฉัยโรค เพื่อให้การรักษาได้ทันเวลา การให้การรักษาที่ล่าช้าจากอาการแสดงออกของโรคจะไม่สามารถแก้ไขภาวะสติปัญญาบกพร่องและพัฒนาการทางร่างกายของเด็กที่เป็นโรคได้

การตรวจคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิดทางห้องปฏิบัติการ

           การตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ทำโดยตรวจวิเคราะห์หาระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) จากตัวอย่างกระดาษซับเลือดที่ได้จากการเจาะเลือดทารกที่มีอายุมากกว่า 48–72 ชั่วโมง กรณีทารกต้องได้รับการให้เลือดควรเจาะเก็บเลือดทารกก่อนได้รับการให้เลือด กรณีทารกได้รับเลือดก่อนเก็บเลือด ควรเก็บเลือดหลังจากการให้เลือดอย่างน้อย 1 สัปดาห์  โดยเจาะเลือดและหยดเลือดลงบนกระดาษซับนำไปสกัดซีรัมเพื่อหาระดับ TSH ใช้ค่าจุดตัดของ TSH ตั้งแต่ 25 mU/L  ขึ้นไป ที่ถือว่าผลเป็นบวกหรือสูงผิดปกติ ถ้าผลการตรวจคัดกรอง TSH ให้ผลบวก ต้องทำการตรวจยืนยันซ้ำเพื่อการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจระดับซีรัม free T4 (หรือ total T4) และ TSH และควรรายงานผลโดยเร็วที่สุด ซึ่งปัจจุบันใช้เวลาเพียง 1–2 ชั่วโมง การวินิจฉัยและให้การรักษาที่ล่าช้ามีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของสมอง

thyroid_feedback.jpg

รติดตมทรกแรกเกิดที่มีผลการคัดกรองผิดปกติ

           ทารกแรกเกิดที่ได้รับตรวจคัดกรองแล้วพบว่ามีผลผิดปกติ  หน่วยบริการต้องติดตามทารกให้มารับการตรวจยืนยันและรับยา L-thyroxine ภายในอายุของทารกไม่เกิน 14 วัน โดยประสานงานกับหน่วยบริการให้ติดตามทารกมาตรวจยืนยัน เพื่อแจ้งสถานที่เจาะเก็บเลือดว่าเป็น โรงพยาบาลที่เจาะเลือดตรวจคัดกรอง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล หรือโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน/เดินทางสะดวก เพื่อเจาะซีรัมตรวจยืนยัน

การตรวจยืนยันภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด

           การตรวจยืนยันภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิดในทารกแรกเกิด โดยการตรวจหาระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) และ Free T4 (FT4) หรือ Thyroxine (T4) โดยดำเนินการดังนี้ 

  • กรณีที่หน่วยบริการมีศักยภาพในการตรวจยืนยันเอง หรือส่งตรวจไปยังหน่วยบริการอื่น ๆ ให้ส่งผลการตรวจยืนยันกลับมายังศูนย์ปฏิบัติการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดแห่งชาติผ่านทางเว็บไซต์ neoscreen.go.th
  • กรณีส่งตรวจที่ศูนย์ปฏิบัติการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดแห่งชาติให้ดำเนินการตามหัวข้อการเก็บตัวอย่างซีรัมเพื่อนำส่งตรวจยืนยัน และรับทราบผลการตรวจวิเคราะห์ผ่านทางเว็บไซต์ neoscreen.go.th

การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

การซักประวัติทารกที่สงสัยจะมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ควรซักประวัติครอบคลุมถึงโรคไทรอยด์ของมารดาและครอบครัว ยาที่มารดาได้รับ ภาวะขาดออกซิเจนขณะเกิดของทารก (Birth asphyxia) ที่ทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และโรคหรือการเจ็บป่วยของทารก การตรวจร่างกาย ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิดมักไม่มีอาการแสดงเมื่อแรกเกิด แต่ทารกมักมีน้ำหนักและความยาวแรกเกิดปกติ และจะแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น ในรายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิดรุนแรง อาจมีอาการแสดงเมื่อทารกอายุประมาณ 1–2 เดือน ได้แก่ ตัวเหลืองนานจากระดับบิลิรูบินชนิด Unconjugated สูง ดูดนมได้น้อย ผิวแห้ง ตัวเย็น ผิวลาย (Mottling) ร้องเสียงแหบ ตัวฉุ หนังตาบวม ท้องผูก ลิ้นโต สะดือจุ่น ขม่อมกว้าง ซึ่งอาการแสดงเหล่านี้จะชัดเจนมากขึ้นเมื่อทารกอายุ 3–6 เดือน ความรุนแรงของโรคขึ้นกับสาเหตุ ทารกที่ไม่มีต่อมไทรอยด์จะมีอาการรุนแรงกว่าทารกที่มีต่อมอยู่ผิดที่หรือต่อมอยู่ในตำแหน่งปกติแต่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ควรตรวจหาลักษณะของกลุ่มอาการและความผิดปกติ ของระบบอื่น ๆ ด้วย

.. นโยบายคุกกี้

.. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้